เปิด 2 ตัวละครลับ “นอร์เวย์” เบื้องหลัง “ฮาแลนด์” สู่โคตรดาวยิง พรีเมียร์ ลีก

ทอร์ด ยอห์นเซน ซัลเต กับ อันเดรียส อูเอลันด์ ต่างเป็นชื่อนักเตะนอร์เวย์ที่ไม่ได้ติดหูแฟนๆ มากนัก

ซัลเต เคยอยู่ โอลิมปิก ลียง ระยะสั้นๆ สมัยเป็นเยาวชน ปัจจุบันเขาย้ายมาอยู่ อเรนดัล สโมสรระดับดิวิชัน 3 ของลีกนอร์เวย์

ด้าน อูเอลันด์ มุ่งหน้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนการศึกษามหาวิทย่ลัยเวอร์จิเนีย ก่อนถูก นิว อิงแลนด์ เรฟโวลูชัน ดราฟต์ เมื่อเดือนธันวาคม ทว่าแยกทางกันอีก 2 เดือนต่อมา กลายเป็นผู้เล่นไร้สังกัด

ทั้ง 2 คน เติบโต ที่เมืองไบรน์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นกองหลังฝีเท้าเยี่ยมประจำท้องถิ่น, ได้รับการกล่าวถึงระดับนานาชาติตั้งแต่เป็นเยาวชน และยังมีส่วนปลุกปั้น เออร์ลิง ฮาแลนด์ ดาวยิง แมนเชสเตอร์ ซิตี ที่กำลังร้อนแรง

ฮาแลนด์ เกิดปี 2000 อายุน้อยกว่า ซัลเต กับ อูเอลันด์ ประมาณ 1 ปี ขณะอายุ 7 ขวบ เขาเก่งเกินกว่าเด็กรุ่นเดียวกัน จึงต้องขยับรุ่นขึ้น 1 ปี กระทั่งเขาอายุครบ 15 ปี เขาต้องเผชิญหน้า ซัลเต กับ อูเอลันด์ ที่บ่มเพาะฝีเท้ามานานกว่า จึงเป็นบทเรียนที่หนักหนาสาหัส

อัลฟ์ อิงเว เบิร์นสเทน โค้ชทีมเยาวชน ไบรน์ กล่าว “เขามีปัญหาระหว่างการซ้อม เราไม่ได้ชี้แนะเขาเลย เราแค่ปล่อยให้เขาเล่นไป”

เซสชันการฝึกซ้อมเหล่านั้นขัดเกลา ฮาแลนด์ จนกลายเป็นดาวยิงที่ถล่มประตู 40 จาก 47 ลูก เฉพาะการยิงแบบ วัน-ทัช (ไม่ต้องจับ)

ฮาแลนด์ ต่อสู้ด้วยพละกำลังกับ 2 เซ็นเตอร์แบ็กวัยหนุ่ม ที่ไบรน์ ดังนั้นจึงต้องเล่นด้วยมันสมอง การเป็นคนเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้เขาพัฒนารวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่อก้าวสู่เวทีใหญ่

“การดวลกับกองหลัง เขาต้องฉลาดเล่น คู่ต่อสู้ของเขาค่อนข้างเก่ง เราไม่สามารถพัฒนา เออร์ลิง ได้ เขาต้องทำด้วยตัวเอง มันเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับเขาแทนที่จะมีคนแก่ๆ อย่างผมคอยบอกว่าต้องวิ่งไปตรงไหน”

การฝึกซ้อมแบบเล่นทีมกลุ่มย่อยๆ ทำให้ ฮาแลนด์ เห็นความสำคัญของพื้นที่ว่าง มีหลายตัวอย่างที่เราได้เห็นตลอดฤดูกาลนี้ แต่ 1 ประตู (ลูกที่ 2) ของเขา เกมเอาชนะ คริสตัล พาเลซ 4-2 เดือนสิงหาคม 2022 คือ ตัวอย่างที่ชัดเจนสุด เขาถอยห่างจนเกือบจะเลยเสาสอง และได้โอกาสชาร์จจ่อๆ โดยมีผู้เล่นไม่กี่คนที่คิดว่าจะอยู่ตรงนั้น

ประตูที่ 2 ของเขา เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (15 เม.ย.) แตะบอลหลุด 2 ปราการหลัง แล้วยกข้าม แดเนียล อีเวอร์เซน นายทวาร เลสเตอร์ ซิตี แบบนิ่มๆ เกิดจากส่วนผสมระหว่างร่างกาย, ไหวพริบ และสายตาอันเฉียบแหลม ซึ่งจะผลักดันเขากลายเป็นตำนานของ พรีเมียร์ ลีก ภายในเวลา 12 เดือน

“เขาเล่นด้วยสัญชาตญาณเสมอ และจุดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ มันไม่ได้เกิดจากร่างกาย,กำลัง, ความสามารถเฉพาะตัว, ไหวพริบ, การหลอกล่อกองหลัง แต่เขาวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ เรามีนักเตะ 40 คน ที่ไบรน์ บางครั้งเราแบ่งพวกเขาออก แล้วเล่นด้วยทีมที่ทัดเทียมกัน นั่นอาจเป็นผลดีต่อจิตใจ เพราะเขาต้องปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่”

“ตอนผมเห็นวิดีโอของเขาขณะอายุ 13 ปี การเคลื่อนไหวของเขาค่อนข้างคล้ายตอนนี้ เทียบกับประตูที่เขาทำได้กับการซ้อมสนามอินดอร์ขณะอายุ 13 มันตลกดีแต่มันเหมือนกันทั้งทรงผม, การเคลื่อนไหว ตามปกติเมื่อคุณเจอคู่ต่อสู้ที่เก่งกว่า คุณจะหยุดพัฒนา แต่ เออร์ลิง พัฒนาตัวเองสม่ำเสมอ นั่นคือสาเหตุที่เขาแตกต่าง”

เป๊ป กวาร์ดิโอลา กุนซือ แมนฯ ซิตี เผยถึงการจับระหว่าง ฮาแลนด์ กับ เดอ บรอยน์ “การประสานงานเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด มันเป็นไปตามธรรมชาติ เราไม่ได้ฝึกซ้อม เราไม่ได้นัดมาคุยกัน เรามองหา เออร์ลิง เพราะเวลาเขาวิ่ง, สร้างพื้นที่ว่าง และบอลมาถึงแบบเหมาะเหม็ง เขาจะเป็นนักเตะที่หยุดลำบาก เราทราบจุดนั้น”

เดอ บรอยน์ กับ ฮาแลนด์ นัดแนะกันมาก่อนยิงประตูนั้น ตามคำบอกเล่าของ จอมทัพชาวเบลเยียม “ปกติเมื่อคุณเจอทีมที่เล่นระบบ 5-4-1 และพื้นที่ตรงกลางมีน้อย มันแทบเป็นไปไม่ได้เลย แต่เขาอยู่ถูกที่ถูกเวลา มันแตกต่างกันเล็กน้อยกับความคุ้นเคยของเขา ที่ดอร์ทมุนด์ แต่เราปรับตัวเข้าหากันบ่อยมาก และหากคุณอดทน คุณจะได้รับโอกาส”

การเจอทีมตั้งรับลึกๆ อาจปลุกความทรงจำเดิมๆ ในการซ้อมฝั่งละ 20 คน ที่ไบรน์ แต่สำหรับศึกยูฟา แชมเปียนส์ ลีก วันพุธนี้ (19 เม.ย.) จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อ บาเยิร์น มิวนิก ต้องการพลิกสถานการณ์จากตามหลัง 3 ลูก จึงต้องระมัดระวังความเร็วดุจสายฟ้าของ ฮาแลนด์ ในเกมโต้กลับ

 

ติดตามอ่านข่าวกฬาได้ที่  zazourestaurant.com