เตรียมรับมือมาตรการกีดกัน พาณิชย์หนุนปรับกระบวนการผลิตรักษ์โลก

พาณิชย์ระดมสมองเตรียมพร้อมรับมือคู่ค้าออกมาตรการเอ็นทีบี ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม แรงงาน สิทธิมนุษยชน ภูมิรัฐศาสตร์ ล่าสุด CBAM ของอียูเตรียมใช้ 1 ต.ค.66 กับ 7 กลุ่มสินค้า แต่ คาดสินค้าจำนวนมากได้รับผลกระทบแน่ ผลักดันผู้ผลิต-ผู้ส่งออก ใช้บีซีจี โมเดล ปรับกระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานต่างๆของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศ เช่น สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ 3 สำนักงาน คือ ปักกิ่ง จีน, วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ และบรัสเซลส์ เบลเยียม, เอกอัครราชทูตไทยผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ

เพื่อติดตามสถานการณ์ของประเทศต่างๆ และกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะกรณีที่ประเทศคู่ค้าออกกฎ กติกาการค้าใหม่ๆที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เพื่อจะได้แจ้งเตือนผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องต่างๆให้เตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที

“ส่วนการส่งออกไทย จากการประชุมกับภาคเอกชนจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 แต่เดือน พ.ค.นี้ จะประชุมทูตพาณิชย์ เพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้ง สินค้าที่ยังส่งออกได้ดี เช่น อาหาร ผลไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน วัสดุก่อสร้าง ส่วนสินค้าที่ทรงๆ เช่น เม็ดพลาสติก เพราะจีนลดนำเข้า ตั้งโรงงานเอง

อย่างไรก็ตาม ปีนี้กรมมีแผนบุกตลาดกว่า 195 โครงการ 450 กิจกรรม และเตรียมบุกตลาดใหม่ เช่น ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง ที่มี กำลังซื้อสูง ซึ่งจะทำให้ส่งออกไทยปีนี้โตได้ตามเป้าหมาย 2-3% จากปีก่อน”

เตรียมรับมือมาตรการกีดกัน พาณิชย์หนุนปรับกระบวนการผลิตรักษ์โลก
ด้านนางอารดา เฟื่องทอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า

ปัจจุบันแต่ละประเทศออกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี (เอ็นทีบี) จำนวนมาก เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (อียู) จีน ฯลฯ โดยเอ็นทีบีสำคัญๆ เช่น มาตรการสิ่งแวดล้อม, แรงงานและ สิทธิมนุษยชน, มาตรการที่เป็นผลพวงของความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ อย่างสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน หรือสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงไทย

 

“ล่าสุด CBAM (มาตรการปรับราคาสินค้าจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต) ของอียู ที่จะทดลองใช้ 1 ต.ค.นี้ และบังคับใช้เต็มรูปแบบปี 69 แต่ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าอียูมีวิธีการวัดการปล่อยก๊าซอย่างไร กำหนดปริมาณเท่าไร หรือ วัดคาร์บอนเครดิตจากค่าอะไร ทำให้ผู้ประกอบการยังเตรียมความพร้อมไม่มากนัก แต่กรมก็ได้ชี้แจงทำความเข้าใจ ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับกระบวนการผลิตให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”

สำหรับ CBAM เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของ European Green Deal ของยุโรป กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้า 7 ประเภท ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ไฮโดรเจน และสินค้าปลายน้ำบางรายการ เช่น นอตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า ฯลฯ ต้องรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงต้องซื้อและส่งมอบ ใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการปล่อยก๊าซ ประกอบการนำเข้า สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับไทย ไม่ใช่เฉพาะกับผู้ผลิตสินค้า 7 กลุ่มนี้เท่านั้น แต่รวมถึงผู้ผลิตสินค้ากลางน้ำและปลายน้ำจำนวนมากที่ใช้สินค้า 7 กลุ่มมาผลิตด้วย

อย่างไรก็ตาม ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กรมได้พัฒนาผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย ให้มีความรู้ด้านบีซีจี โมเดล (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว) และปรับปรุงกระบวนการผลิตตามบีซีจี โมเดล ที่ลดการปล่อยก๊าซ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยสู่ความยั่งยืน เฟส 2, ผลักดันผู้ประกอบการบีซีจี ฮีโร่ 10 ราย ที่ผ่านการคัดเลือกจากรุ่น 1 ให้ได้รับฉลากคาร์บอนฟุต ปรินต์ของผลิตภัณฑ์ เป็นผู้ประกอบการที่ดำเนิน ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม, คัดเลือกผู้ประ กอบการบีซีจี ฮีโร่ (รุ่น 2) ไม่น้อยกว่า 50 ราย เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สินค้าบีซีจีไทยในต่างประเทศ เป็นต้น.

ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : zazourestaurant.com