อาหารคนป่วย ที่ดีต่อสุขภาพ มีความสำคัญต่อร่างกาย

อาหารคนป่วย เป็นอาหารที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยจึงควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน น้ำ ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อเพิ่มระดับพลังงาน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายจากการเจ็บป่วย ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ

อาหารคนป่วย สำคัญอย่างไร

อาหารคนป่วย ที่ดีต่อสุขภาพ มีความสำคัญต่อร่างกาย

อาหารคนป่วย มีความสำคัญต่อร่างกายเพราะสารอาหารทำหน้าที่ให้พลังงานกับเซลล์และเนื้อเยื่อ ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ และทดแทนสารอาหารที่สูญเสียไป เมื่อร่างกายเจ็บป่วยจากการติดเชื้อหรือได้รับบาดเจ็บมักจะลดความอยากอาหารลง แต่ร่างกายยังคงต้องการสารอาหารเพิ่มเติม เนื่องจาก คนป่วยบางคนลำไส้อาจดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี หรือบางคนร่างกายใช้สารอาหารได้เร็วกกว่าปกติ เช่น ใช้ในการซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกัน

หากคนป่วยรับประทานอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ เพราะไขมันและกล้ามเนื้อในร่างกายจะถูกย่อยสลายกลายเป็นพลังงาน เพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดหายไป จึงอาจทำให้คนป่วยน้ำหนักลดลง ขาดสารอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง อาจทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อ นอกจากนี้ คนป่วยอาจสูญเสียน้ำปริมาณมากในระหว่างมีไข้หรือท้องเสีย อาหารคนป่วยที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนและน้ำดื่มที่เพียงพอจึงสำคัญต่อการฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วย

อาหารคนป่วย

หากป่วยนานกว่า 2-3 วัน ผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันภาวะขาดสารอาหาร และควรแบ่งมื้ออาหารของผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ดังนี้

ให้อาหารอ่อนกับคนป่วยในปริมาณน้อยบ่อยครั้งตามต้องการ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยไม่รู้สึกหิว เช่น ข้าวต้ม กล้วยบด หรือซุป

ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากขึ้น ทุก 1-2 ชั่วโมง เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้สด น้ำมะพร้าว น้ำอัดลม ซุป ข้าวต้ม

เตรียมอาหารที่ปรุงสุก และเครื่องดื่มให้สะอาด ปลอดภัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากอาหาร

สำหรับทารกป่วยที่ต้องกินน้ำนมแม่เป็นหลัก คุณแม่ควรให้นมทารกบ่อยขึ้น เนื่องจาก นมแม่เป็นอาหารหลักของทารกและยังมีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน

อาหารคนป่วยท้องเสีย คลื่นไส้ หรือมีไข้

เด็กและผู้ใหญ่ที่มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้ ร่างกายอาจสูญเสียน้ำปริมาณมาก เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำคนป่วยจึงควรดื่มน้ำมากขึ้น อาจเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ในร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อ หรืออาจปรุงอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำและเกลือในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่เกิน 6 กรัม หรือ 1 ช้อนชา เช่น ซุป ข้าวต้ม น้ำข้าว อาหารจะช่วยให้ลำไส้ฟื้นตัวและดูดซับน้ำได้ดีขึ้น สำหรับทารกท้องเสียควรดื่มนมแม่บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แนวทางการให้อาหารคนป่วยท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้ ดังนี้

ให้อาหารคนป่วยทุก 1-2 ชั่วโมง และให้ขนมหรือผลไม้ระหว่างมื้อ อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานมากขึ้นในแต่ละมื้อเพื่อสารอาหารที่เพียงพอ

ให้อาหารที่คนป่วยชอบและรับประทานง่าย แต่ควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานและอุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา ไข่ นม อาจเพิ่มอาหารที่มีไขมัน เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง เพื่อเพิ่มพลังงาน

ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารหลังอาบน้ำหรือเช็ดตัว ปากสะอาด จมูกไม่อุดตัน และอุณหภูมิต่ำลง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและสบายตัวทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น

ให้ผู้ป่วยนั่งรับประทานอาหาร และไม่ควรบังคับเด็กป่วยให้รับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการสำลัก หรือการอาเจียน

หากผู้ป่วยนอนพักให้วางน้ำและอาหารไว้ใกล้ ๆ เพื่อง่ายต่อการรับประทาน

ข้อมูลจาก  https://hellokhunmor.com/%e0%b9%82%e0%b8%a0%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e/%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e/

ติดตามอ่านต่อได้ที่    zazourestaurant.com