Posts List

Health

  • ความคิดติดลบ จนส่งผลเสีย ควรแก้อย่างไร
    ความคิดติดลบ จนส่งผลเสีย ควรแก้อย่างไร

    คุณรู้สึกตื่นเต้นยินดี มีความกระตือรือร้นหรือไม่? เวลาที่ได้รับเลือก ให้เข้าสัมภาษณ์ ตำแหน่งในฝัน

    หรือภาพที่คุณถูกปฏิเสธ ไม่รับเข้าทำงาน ภาพความล้มเหลว ที่ทำให้คุณตีตนไปก่อนไข้ จนทำให้คุณรู้สึกหม่นหมอง สิ่งเหล่านี้ได้ผุดขึ้นมา ในหัวของคุณทันทีหรือไม่ ความนับถือตนเอง และความมั่นใจ กำลังถูกทำลาย ให้พังพินาจไปอีกครั้ง ไม่เพียงแค่ว่า เหตุการณ์สำคัญ ที่เกิดขึ้นมาในชีวิตเท่านั้น

    ในคนบางกลุ่ม วิตกกังวลหรือหวาดกลัว สิ่งรอบตัวจนเกินกว่าเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ตอบแชท หรือข้อความของเพื่อน หรือคนสนิทในทันทีทันใด จนทำให้ตัวเองนั้นคิดไปว่า ผู้รับข้อความปลายทางนั้น โกรธตัวเอง เพราะได้ไปทำอะไรผิดมาแน่ๆ หรือไม่ก็ การได้รับฟังข่าวสาร เกี่ยวกับเศษฐกิจ โรคระบาด จนทำให้ตัวเองเกิดการฟุ้งซ่าน เกิดอาการนอนไม่หลับ

    หากว่าคุณนั้น เคยได้มีประสบการณ์ หรือเคยสัมผัสกับสิ่งข้างต้นที่ได้กล่าวมา นั่นหมายความว่า สภาพจิตใจของคุณนั้น อาจเข้สสู่สภาพ “มองโลกเป็นหายนะ” (Catastrophising) ซึ่งอาการนี้ก็คือ พฤติดกรรมทางจิต ที่มองทุกสิ่งทุกอย่าง ในด้านลบไปหมดจนเป็นนิสัย มักจะมองโลกในแง่ร้าย ประเมิณความเสี่ยง กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแย่สูงเกินจากความเป็นจริง

    ดร. แพทริก คีแลน นักจิตวิทยา และนักจิตบำบัดชาวแคนาดา อธิบายถึงสภาพจิตใจที่คอย แต่จะมองโลกเป็นหายนะว่า “นี่เป็นวิธีการคิดในเชิงลบที่จะเลวร้ายย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความเครียดและอารมณ์รุนแรงท่วมท้น จนไม่อาจจะจัดการได้อีกต่อไป ส่งผลบั่นทอนสุขภาพจิตและทำให้อาการเจ็บปวดเรื้อรังทางกายหนักขึ้น”

    มองโลกในแง่ลบ
    วิธีบำบัดจิตนอกแนวทาง “ซิกมันด์ ฟรอยด์”

    ความรู้ความเข้าใจเรื่องการมองโลกเป็นหายนะของนักจิตวิทยาในปัจจุบัน มาจากการถือกำเนิดขึ้นของแนวทางจิตบำบัดที่เรียกว่า “การบำบัดเชิงพฤติกรรมการคิด” (Cognitive Behavioral Therapy) ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ซึ่งต่างจากแนวทางจิตบำบัดกระแสหลักของซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่มีมาก่อนหน้านั้น

    แทนที่จะใช้วิธีขุดคุ้ยหาปมความกลัวและความปรารถนาเร้นลับ ที่ถูกเก็บกดซ่อนไว้ในจิตใต้สำนึกตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อที่จะรักษาอาการป่วยทางใจตามแนวทางของฟรอยด์ นักจิตบำบัดอย่างอัลเบิร์ต เอลลิส และแอรอน เบ็ก หันไปให้ความสนใจกับกระบวนการคิดขณะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ของผู้คนมากขึ้น

    พวกเขามองว่า “การบิดเบือนทางความคิด” (cognitive distortion) หรือการมีวิธีคิดที่ไม่สมเหตุสมผลและไม่ตรงกับความเป็นจริง คือสาเหตุสำคัญของการ “มองโลกเป็นหายนะ” ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรงและอาการผิดปกติทางจิตชนิดต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่นคนที่มีอาการ “โฟเบีย” (phobia) หรือหวาดกลัวจนเกินจริงต่อสิ่งต่างๆ อย่างไร้เหตุผล

    จะตีความว่าการสั่นสะเทือนเล็กน้อย ในห้องโดยสารของเครื่องบิน คือสัญญาณบ่งชี้ถึงเครื่องยนต์ที่เริ่มทำงานล้มเหลว และเครื่องบินกำลังจะตกในไม่ช้า ทั้งที่การสั่นของเครื่องบินดังกล่าว เป็นเรื่องปกติ และไม่มีลูกเรือคนใด แสดงอาการตื่นตระหนกเลยแม้แต่น้อย งานวิจัยใหม่ๆ ต่างชี้ว่า วิธีคิดแบบมองทุกสิ่งเป็นหายนะสามารถนำไปสู่อาการทางจิต และความผิดปกติ ทางพฤติกรรมได้หลายแบบ

    ไม่ว่าจะเป็นภาวะวิตกกังวล และย้ำคิดย้ำทำอย่างรุนแรง เช่นพนักงานที่ทำผิดพลาดไปเพียงเล็กน้อย แต่กลับหวาดกลัวว่าจะถูกไล่ออกอยู่ตลอดเวลา ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่สามารถทำงาน ในหน้าที่ได้อีกต่อไป นอกจากนี้ การคิดลบแบบเกินจริง ยังส่งผลต่ออาการทางกาย ซึ่งมักเกิดขึ้นจากความหวาดกลัว ในเบื้องต้น โดยขยายผลให้เจ็บปวด

    และรุนแรงขึ้นได้ เช่นคนที่รู้สึกประหม่าจนใจเต้นแรง เพราะกำลังจะนำเสนอรายงานต่อที่ประชุม หากเป็นคนกลุ่มที่มองโลกเป็นหายนะแล้ว ก็จะตีความว่าตนกำลังจะหัวใจวาย ซึ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงเหมือนราดน้ำมันลงในกองไฟ และนำไปสู่อาการแพนิก (panick attack) หรือโรคตื่นตระหนกอย่างเต็มรูปแบบได้

    โรคติดต่อทางอารมณ์

    มีหลายปัจจัยที่ช่วยอธิบายว่า ทำไมบางคนจึงมีแนวโน้ม จะมองโลกเป็นหายนะได้สูงกว่าคนอื่น เช่นคนที่มีบุคลิกภาพแบบวิตกจริต (neuroticism) มีความเสี่ยงที่จะเกิดความคิดบิดเบือนเกินจริงได้ ซึ่งบุคลิกภาพแบบนี้อาจมีที่มาทางกรรมพันธุ์ หรือได้รับการปลูกฝังจากคนใกล้ชิดในวัยเด็ก โดยการมีพ่อแม่ที่มองโลกในแง่ร้ายสุดขั้ว จะทำให้ลูกเติบโตขึ้นมามีโลกทัศน์ในแบบเดียวกัน

    นอกจากนี้ ระดับความเครียด และความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยที่มีสะสมอยู่สูงในประชากรโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ที่นำไปสู่ความปั่นป่วนวุ่นวายของสังคมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ความเครียดในเรื่องอื่น ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต กลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่กระตุ้นให้เกิดสภาพจิตใจแบบมองโลกเป็นหายนะได้ง่าย

    การรับข่าวสารต่างๆ จากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้คนเราต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางกระแสข่าวร้าย ไม่ว่าจะเป็นข่าวสงคราม โรคระบาด หรือโศกนาฎกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้ “จิตตก” อยู่เกือบตลอดเวลา ส่งผลให้มีพฤติกรรมคิดลบกันมากขึ้นและหนักขึ้น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยซัสเซกซ์ในสหราชอาณาจักร

    พบว่าการเสพข่าวร้าย สามารถทำให้คนเราวิตกกังวลเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นมีสภาพจิตใจแบบมองโลกเป็นหายนะได้ ซึ่งแสดงว่าการเสพข่าวสารมีอิทธิพลสำคัญต่ออารมณ์ของคนเราในระยะยาว

    ทำลายวงจรความคิดลบ

    อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยารุ่นใหม่มองว่า เราสามารถทำลายวงจร ของการวนเวียนคิดลบแบบสุดขั้วนี้ได้ด้วยการมีสติรู้ตัว ดร. คีแลนบอกว่าการมีสติยั้งคิดนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยหยุดความคิดแบบด่วนสรุปที่ว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงหายนะได้ลงในทันที หลังจากนั้นก็ให้หันมาตั้งคำถาม อย่างเป็นธรรมกับตัวเองว่า “ฉันกำลังจะล้มเหลวจริงหรือ”

    ดร. คีแลนแนะนำให้คนที่เริ่มมองโลกแบบหายนะ เปลี่ยนวิธีคิดและมุมมอง ต่อสถานการณ์เสียใหม่ ในแบบที่สามารถตั้งคำถาม ประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกลาง และสมดุลในทุกแง่มุม เช่นเดียวกับการวิเคราะห์แบบภววิสัย (objective) จากบุคคลภายนอก โดยใช้หลักฐานแวดล้อมที่มีอยู่จริงมากกว่าจินตนาการ

    หากคุณหวาดกลัวการสัมภาษณ์งาน ที่กำลังจะมาถึง และเริ่มคิดแบบปักใจ ว่าจะต้องทำพลาดจนไม่ได้งานในฝันเป็นแน่ ในกรณีนี้ให้ตั้งคำถามว่า มีเหตุผลอะไรบ้างที่จะทำให้คุณสอบตก การสัมภาษณ์โดยอัตโนมัติ ซึ่งหลังจากคิดทบทวน โดยละเอียดอย่างเป็นกลางแล้ว คุณจะพบว่าความล้มเหลวนั้นเป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่เป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ชะตากรรมที่ถูกกำหนดไว้ อย่างแน่นอนล่วงหน้า

    แม้การเปลี่ยนพฤติกรรมการคิดจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การฝึกฝนอย่างค่อย เป็นค่อยไปจะส่งผลดีในที่สุด “การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลที่พุ่งสูง ให้ลงมาอยู่ในระดับที่บริหารควบคุมได้” ดร. คีแลนกล่าวทิ้งท้าย

    ขอบคุณ แหล่งที่มา : bbc.com

    สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : zazourestaurant.com

Economy

  • ไขความลับการตลาด เดนทิสเต้ ยาสีฟันแบรนด์ไทย
    ไขความลับการตลาด เดนทิสเต้ ยาสีฟันแบรนด์ไทย

    ไขความลับการตลาด เดนทิสเต้ ยาสีฟันแบรนด์ไทยทำอย่างไรถึงโตในญี่ปุ่น เกาหลี

    เดนทิสเต้ ยาสีฟันของไทยที่ไปเติบโตในญี่ปุ่น และเกาหลีด้วยคาแรกเตอร์ Love Toothpaste Couple Toothpaste หรือ ยาสีฟันคู่รัก
    การมีลิซ่า ถือเป็นการสร้าง Branding ที่ชัดเจนโดยเฉพาะการไปทำตลาดในต่างประเทศ เรียกได้ว่าไปที่ไหนก็ได้รับการตอบรับที่ดี
    การที่สินค้าไทยจะไปทำตลาดในญี่ปุ่น และเกาหลีนั้นค่อนข้างยาก สิ่งเดียวเลยที่ต้องมี คือ ความบ้าของคนที่อยากไป ถ้าเจอความท้าทายต้องไม่ถอย
    เภสัชกร ดร.แสงสุข พิทยานุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเฮลท์กรุ๊ป จำกัด ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากระดับพรีเมียมเดนทิสเต้ หรือ DENTISTE’ กล่าวว่า ปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่สองที่เราได้ ลิซ่า ลลิษา มโนบาล มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของเดนทิสเต้

    การมีลิซ่าถือเป็นการสร้าง Branding ที่ชัดเจนกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะการไปทำตลาดในต่างประเทศ เรียกได้ว่าไปที่ไหนก็ได้รับการตอบรับที่ดี อย่างเช่น อเมริกา พอเรามีลิซ่า เราทำการตลาดได้ง่ายมาก เพราะคนส่วนใหญ่รู้จักลิซ่า ที่สำคัญอเมริกาเป็นประเทศที่ต้อนรับเกาหลี

    โดยเฉพาะหากเป็นสินค้าที่มาจากเกาหลี เขาจะค่อนข้างชอบ ส่วนการเติบโตในประเทศไทยนั้น สินค้าของแบรนด์เติบโตทุกหมวด แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาจะได้รับผลกระทบจากโควิดบ้างก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่าพอมีลิซ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์เราก็ลดการใช้ชื่ออย่างเห็นได้ชัด

    “แต่เดิมเราใช้งบโฆษณาประมาณ 80 ล้าน แต่ตอนนี้พอมีลิซ่างบส่วนนี้ก็ลดเหลือ 30 ล้าน เราก็มองว่าโอเค หลายคนอาจจะคิดว่า เราต้องจ้างพรีเซ็นเตอร์มาแพงมาก แต่จริงๆ แล้วเราได้ทั้งในแง่แบรนด์และยอดขาย ที่สำคัญเราไม่ได้เป็นคนจ่ายเงินค่าพรีเซ็นเตอร์เลย แต่ยอดขาย และกำไรต่างหากที่เป็นคนจ่าย เช่น ถ้าเราทำกำไรได้ 200 ล้าน ค่าจ้างพรีเซ็นเตอร์ 100 ล้าน”

    ไขความลับการตลาด เดนทิสเต้ ยาสีฟันแบรนด์ไทยทำอย่างไรถึงโตในญี่ปุ่น เกาหลี
    สำหรับแคมเปญทั่วๆ ไปเราก็ตั้งงบประมาณไว้แล้ว ที่สำคัญเราต้องดึงคาแรกเตอร์ของแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้ตรงกับสินค้าของเรา เช่น จากรีวิวและวิจัยหลายๆ ตัวของทันตแพทย์ลงความเห็นว่า ลิซ่า เป็นคนฟันสวย และยิ้มสวย พอเอารอยยิ้มมาวัด ซ้ายขวาบนล่าง ฟันเท่ากันทุกซี่ ยิ้มได้เพอร์เฟกต์ นี่คือแง่ Functional แต่ถ้ามองในมุม ในแง่ Emotional ลิซ่า คือ ซุปเปอร์สตาร์ นี่คือความสมบูรณ์แบบที่สุด

    “เป็นความโชคดีของเรา ตอนแรกก็ไม่ค่อยมั่นใจว่าทางค่าย และน้องจะรับเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ไหม แต่ด้วยความที่เราเป็นยาสีฟันพรีเมียมแบรนด์ที่ขายดีเป็นอันดับหนึ่งในเกาหลี ค่ายจึงถามลิซ่าว่าสนใจไหม ซึ่งน้องก็ใช้เดนทิสเต้อยู่แล้ว ตอนนั้นน้องก็ไม่รู้ว่าเป็นยาสีฟันของไทย ลิซ่าจึงเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ”

    ยาสีฟันแบรนด์ไทยที่โตในญี่ปุ่น เกาหลี

    เภสัชกร ดร.แสงสุข เล่าว่า การที่สินค้าไทยจะไปทำตลาดในญี่ปุ่น และเกาหลีนั้นค่อนข้างยาก ซึ่งผมมองว่า สิ่งเดียวเลยที่ต้องมี คือ ความบ้าของคนที่อยากไป ถ้าเจอความท้าทายต้องไม่ถอย เช่น ยาสีฟัน โอกาสที่คนญี่ปุ่นจะใช้ยาสีฟันที่ขายไม่เกิน 500 เยนนั้นค่อนข้างยาก แต่เราเปิดตัวขายที่ 1,500 เยน ฉะนั้นก็ต้องมีอะไร Beyond Emotion หรือ เหนืออารมณ์ขึ้นไปอีก

    คนญี่ปุ่นสะอาดมาก สิ่งที่คนเกลียดที่สุด คือ กลิ่น เข้าห้องน้ำญี่ปุ่นไม่มีกลิ่นเลย พอลึกลงไปอีกหน่อย กลิ่นที่ไม่ชอบมากที่สุด คือ กลิ่นปาก และกลิ่นตัว เราจะเห็นว่า คนญี่ปุ่นแปรงฟันวันละ 3 ครั้ง และคนญี่ปุ่นจะไม่แสดงความรักในที่สาธารณะ เราจึงสร้างแบรนด์ยาสีฟันให้เป็น Love Toothpaste Couple Toothpaste หรือ ยาสีฟันคู่รัก

    “เชื่อไหมว่าดิสทริบิวเตอร์ที่ญี่ปุ่นบอกว่า ช่วงโควิดยอดขายสินค้าทุกตัวตกหมดทุกตัว ยกเว้น ยาสีฟันเดนทิสเต้ เช่นเดียวกับเกาหลี ยอดขายเราเป็นอันดับหนึ่งมาโดยตลอด เราได้มาร์เก็ตแชร์ 12% ทั้งออนไลน์และออฟไลน์”

    สินค้าต้องมีออปชันให้ครบทุกฟังก์ชัน

    นอกจากนี้ เราได้ทำการสำรวจพบว่า Gen Z และ Gen Y สิ่งที่พวกเขากังวลมาเป็นอันดับหนึ่ง คือ กลิ่นปาก เดนทิสเต้นำอินไซต์นี้มาเป็นอีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ในการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายใน พรีเมียม เซกเมนต์ (Premium Segment) มากขึ้น

     

    ทั้งนี้ จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญของเรา เวลามีสินค้าใหม่ๆ เราจะต้องมีให้ครบ 10 ว้าว เพราะผู้บริโภคซื้อของด้วยอารมณ์ เราต้องมีออปชันให้ครบทุกฟังก์ชั่น ทั้งการซื้อด้วยอารมณ์ และการซื้อเพราะต้องการใช้งานจริง ผมเคยสังเกตดู ถ้าสินค้าแตกต่างนิดๆ แตกต่างเล็กๆ ก็ไม่ค่อยรอด กลยุทธ์เราปี 66 นี้จะมีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมให้มากขึ้น

    ปัจจุบันยาสีฟันเดนทิสเต้ มียอดขายในไทย 50% และ ส่งออกไปต่างประเทศ 50% ในอนาคตเราจะทำให้ยอดขายในต่างประเทศอยู่ที่ 80% และไทย 20% โดยเราวางแผนการทำโรงงานในเยอรมนี รวมถึงการตั้งโรงงานที่เกาหลี รวมถึงการเปิดสำนักงานที่ไต้หวัน.

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : zazourestaurant.com